วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอน 24 เมษายน 2556


การทำงานของอินเตอร์เน็ต





1.ส่งสัญญาณจากโมเด็มไปยัง Router
  เราเตอร์คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง    หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง

2.จาก Router ส่งสัญญาณต่อไปยัง Domain Name Server (DNS)
   คือสิ่งที่นำมาอ้างถึงหมายเลขเครื่อง หรือ หมายเลข IP Address เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ DNS จะทำหน้าที่คล้ายกับสมุดโทรศัพท์ คือ เมื่อมีคนต้องการจะโทรศัพท์หาใคร คน ๆ นั้นก็จะต้องเปิดสมุดโทรศัพท์เพื่อค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของคนที่ต้องการจะติดต่อคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เมื่อต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เครื่องนั้นก็จะทำการสอบถามหมายเลข IP ของเครื่องที่ต้องการจะสื่อสาร กับ DNS server ซึ่งจะทำการค้นหาหมายเลขดังกล่าว ในฐานข้อมูลแล้วแจ้งให้ Host ดังกล่าวทราบ ระบบ DNS แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ 

Name Resolvers โดยเครื่อง Client ที่ต้องการสอบถามหมายเลขไอพีเรียกว่า Resolver ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็น Resolvers นั้นจะถูกสร้างมากับแอพพลิเคชันหรือเป็น Library ที่มีอยู่ใน Client 

Domain Name Space เป็นฐานข้อมูลของ DNS ซึ่งมีโครงสร้างเป็น Tree หรือเป็นลำดับชั้น แต่ละโหนดคือ โดเมนโดยสามารถมีโดเมนย่อย (Sub Domain) ซึ่งจะใช้จุดในการแบ่งแยก 

Name Servers เป็นคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลบางส่วนของ DNS โดย Name Server จะตอบการร้องขอทันที โดยการหาข้อมูลตัวเอง หรือส่งต่อการร้องขอไปยัง Name Server อื่น ซึ่งถ้า Name Server มีข้อมูลของส่วนโดเมนแสดงว่า Server นั้นเป็นเจ้าของโดเมนเรียกว่า Authoritative แต่ถ้าไม่มีเรียกว่า Non-Authoritative

3. เมื่อสัญญาณถูกส่งไปยัง DNS ไปยัง Webserver
   Web server คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการข้อมูล แก่ Client หรือ เครืองคอมพิวเตอร์ที่ขอรับบริการ ในรูปแบบ สื่อผสม ผ่านระบบเครือข่าย โดยสามารถแสดงผล ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า Web server คือโปรแกรมที่คอยให้บริการแก่ Client ที่ร้องขอข้อมูลเข้ามาโดยผ่าน web browser
โปรแกรมที่นิยมนำใช้เป็นเครื่องบริการเว็บ ได้แก่ อาปาเช่ (Apache Web Server) และไมโครซอฟท์ไอไอเอส (Microsoft IIS = Internet Information Server)เป็นต้น

4. จาก Webserver ก็จะส่งข้อมูลผ่านทางเดิมกลับมาที่ Router 
   ข้อมูลที่เราได้ส่งไปก็จะได้รับกลับมาทางเดียวกลับช่องทางสัญญาณที่เราส่งไป
  


วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอนวันที่ 18 เมษายน 2556

สอบปฏิบัติกลางภาคเรียน
ข้อที่ 1 การใส่สคริปต์ www.chandrakasem.info ที่อาจารย์ผู้สอนจัดไว้ให้ลงใน Gadget Blogger ของตนเอง
ข้อที่ 2 สร้างเอกสารใหม่ใน Google Sites แล้วให้ Upload file โครงการ(Research Project) ให้สามารถดาวน์โหลดได้
ข้อที่ 3 สอบข้อสอบจำนวน 30 ข้อจาก chandraonline : Claroline e-Learning System โดยคะแนนที่ได้นำมาหารสอง ผลที่ได้คืือ 24/30

การตั้งชื่องานวิจัย
การตั้งชื่องานวิจัยให้เป็นภาษาอังกฤษ สามารถหาข้อมูลได้จาก Google Translate โดยที่เว็ปไซต์จะทำงานแปลภาษาให้เรา ซึ่งหากไม่ตรงก็อาจจะต้องเรียบเรียงใหม่


หรืออาจจะตรวจสอบแกรมม่าว่าถูกต้องหรือไม่จากเว็ปไซต์ฟรีที่มีอยู่ เช่น





ซึ่งสามารถดาวน์โหลด ตัว Installation ได้


ติดตั้งเสร็จแล้วสามารถใช้งานได้เลย และสามารถใช้ร่วมกับ Google Chrome ได้ด้วย









วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

การเรียนการสอน วันที่ 4 เมษายน 2556

วันที่ 4 ( ช่วงเช้า ชดเชย วันที่ 3 )
- สมมติฐาน คือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร

- แจ้งการสอบล่วงหน้า คือวันที่ 17 เมษายน 2556 โดยกำหนดวันที่สอบได้ในโปรแกรม Google Calendar การใช้งานคือ
1. ค้นหาเหตุการณ์ในปฏิทินได้ ตามที่เราได้เคยสร้างไว้ ในช่องค้นหา
2. Share คือ แชร์ข้อมูลของปฏิทินให้คนอื่นสามารถเข้ามาดูได้
3. Agenda คือ กำหนดการ
4. Expand All คือ การขยายข้อมูลว่ามีบุคคลใดเข้ามาดู หรือแสดงรายละเอียดต่างๆเพิ่มเติม
5. Collapse All คือ การย่อข้อมูล
6. Calendar คือ ข้อมูลปฏิทินของเราเอง
7. Other Calendar คือ รายการปฏิทินอื่น

8. Repeat คือ การกำหนดตั้งค่ารายละเอียดของกิจกรรม โดยลงรายละเอียด ได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบรายวัน รายเดือน รายปี โดยใส่วันที่เราจะซ้ำเหตุการณ์ที่เรากำหนด
9. Calendar คือปฏิทิน โดยจะมีให้เราเลือกรูปแบบต่างๆของปฏิทิน เช่น ครอบครัว การทำงาน ส่วนตัว
10. iframe คือ html ของปฏิทิน ที่เราสามารถคัดลอกแล้วนำไปแสดงในบลอคได้

- ดาวโหลดแบบฟอร์ม แบบ ว-1ด (ว.คือวิจัย, 1ด คือ วิจัยเดี่ยว)

- สร้าง Spreadsheet ใน Google Drive เพื่อสร้างแหล่งเก็บข้อมูลในการทำศิลปนิพนธ์